25 มีนาคม 2553

หนังสือดี 100 ชื่อเรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบัน เด็กและเยาวชนไทยยังอ่านหนังสือน้อยกว่าเด็ก และเยาวชนประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ค่อนข้างมาก (สถิติยูเนสโก้ คนไทย 1,000 คน ใช้กระดาษพิมพ์และเขียน 13.1 เมตริกตัน เมื่อเทียบกับคนฮ่องกง, สิงคโปร์ ที่ใช้กระดาษ 1,000 คนต่อ 98 เมตริกตัน) ส่วนหนึ่งอาจเพราะคนไทยจนกว่า แต่ส่วนหนึ่งเพราะคนไทยยังมีนิสัยรักการอ่านน้อยกว่า

โครงการคัดเลือกหนังสือดีที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน เป็นโครงการวิจัยต่อเนื่องจากโครงการวิจัยคัดเลือกหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน โดยมีจุดมุ่งหมายการกระตุ้นให้เด็ก และเยาวชนไทยรักการอ่านหนังสือมากขึ้น และมีคู่มือในการอ่านหนังสือดี การรักการอ่านเป็นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองที่สำคัญ ผู้ที่สนใจเรื่องการปฏิรูปการศึกษาน่าจะถือว่า การส่งเสริมให้คนอ่านหนังสือมากขึ้น เป็นกิจกรรมส่วนสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา การรักการอ่านนี้ จะมีผลถึงการปฏิรูปทางความคิด ความอ่านที่จะมีผลต่อการปฏิรูปทางเศรษฐกิจสังคมได้ต่อไป

หลักเกณฑ์ในการคัดเลือก

เป็นหนังสือเล่ม ประเภทบันเทิงคดี (นิทาน นิยาย เรื่องสั้น บทกวี) ที่เขียนขึ้นเอง โดยไม่จำกัดยุคสมัย
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีเนื้อหาสาระที่ส่งเสริมความเข้าใจชีวิตและสังคม เสริมสร้างภูมิปัญญา จินตนาการ และค่านิยมที่ดี มีศิลปะในการเขียนที่ดี มีความงาม ความไพเราะ ความสะเทือนอารมณ์ อ่านได้สนุกเพลิดเพลิน
มีเนื้อหา ท่วงทำนอง ภาพประกอบที่สามารถสนองความสนใจของนักอ่านกลุ่มเด็กและเยาวชนได้อย่างเหมาะสมกับวัย กระตุ้นจินตนาการและการเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตและโลกที่ผู้อ่านรู้สึกเชื่อมโยงด้วย
เป็นการวางพื้นฐานในการอ่านวรรณคดีที่เป็นแบบฉบับ (คลาสสิก) ของไทย หรือช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจชีวิตและสังคมวัฒนธรรมไทยทั้งในอดีตและปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น

ประกาศวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2543 โดยเรียงลำดับตามกลุ่มวัย, ประเภทหนังสือ และลำดับตัวอักษรของชื่อหนังสือในแต่ละกลุ่ม

1.) กลุ่มเด็กวัย 3-6 ปี

1.กระต่ายน้อยกับหินวิเศษ - สมบูรณ์ ศิงฆมานันท์
2.ขอแม่ให้ลูกนก - บุญสม เอรวารพ
3.ดอกสร้อยสุภาษิตประกอบภาพ - กรมศิลปากร
4.ต้นไม้ในสวน - ชีวัน วิสาสะ
5.ปลาบู่ทอง - กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
6.ผีเสื้อกับผึ้งน้อย - อำนาจ เย็นสบาย
7.ฟ้าจ๋าอย่าร้อง - ส.พุ่มสุวรรณ
8.ยายกะตา - บุญสม เอรวารพ
9.รถไม้ของขวัญ - อิทธิพล วาทะวัฒนะ
10.เสือโค - หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา, รัตนา อัตถากร
11.สำนึกของปลาทอง - วิรุณ ตั้งเจริญ
12.หนูมากับหนูมี - สมใจ ทิพย์ชัยเมธา
13.หนูอ้อกวาดบ้าน - อุไร ฟ้าคุ้ม
14.เอื้องแซะสีทอง นิยายการ์ตูนชาวเขา - วิชา พรหมจันทน์
15.อำเภออึกทึก - ดำรงศักดิ์ บุญสู่


2.) กลุ่มเด็กวัย 7-12 ปี (แบ่งตามประเภท เป็นนิทานภาพ กับนิยายเรื่อง)

2.1 กลุ่มนิทานภาพ

16. การ์ตูนประวัติบุคคลสำคัญ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ - พรชมภู ราชทา, รุ่งโรจน์ แสงพันธุ์
17.ข้าวเขียวผู้เสียสละ - วิริยะ สิริสิงห
18.เด็กชายผู้ไม่ยอมเปิดหน้าต่าง - กานติ ณ ศรัทธา
19.ต้นไม้ - จารุพงษ์ จันทรเพชร
20.ตาอินกับตานา - เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
21.นโมแห่งบ้านไม้ - อรุณ วัชระสวัสดิ์
22.นางในวรรณคดี - มาลัย
23.นิทานชาวเขา - สมศักดิ์ ศรีมาโนชน์, สุนทร สุนันท์ชัย
24.นิยายภาพ 4 เรื่อง 4 รส - เตรียม ชาชุมพร
25.นิทานภาพพุทธรักษา - ฐะปะนีย์ นาครทรรพ และคณะ
26.เปลือกหอยกับความสุข - มานิต ประภาษานนท์, สุธีรา สาธิตภัทร
27.ผึ้งน้อยในสวน - สิรินทร์ ช่วงโชติ
28.พระเวสสันดร - ปัณยา ไชยะคำ
29.ไม่อยากเป็นควาย - สายสุรีย์ จุติกุล, แสงอรุณ รัตกสิกร
30."เรณู-ปัญญา" เที่ยวรถไฟ - กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
31.ลูกหงส์กตัญญู - พรจันทร์ จันทวิมล
32.เล่นกลางแจ้ง - ปรีดา ปัญญาจันทร์
33.สิงหโตเจ้าปัญญา - ถวัลย์ มาศจรัส
34.สุดสาคร และวีรชนในประวัติศาสตร์ไทย - ประยุต เงากระจ่าง
35.โสนน้อยเรือนงาม - มล.มณีรัตน์ บุนนาค
36.หนังสือชุดภาพประกอบคำบรรยาย และหนังสือชุดภาพและการ์ตูน - เหม เวชกร
37.หนังสือชุดภาพและการ์ตูน - สมควร สกุลทอง และประเทือง มุทิตาเจริญ
38.หนังสือภาพชุด ภาพวิจิตรวรรณคดี - นายตำรา ณ เมืองใต้
39.หนังสือภาพประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ - กาญจนาคพันธุ์

2.2) กลุ่มนิทาน/นิยายเรื่อง

40.เขาชื่อเดช - กาญจนา นาคนันท์
41.ครูไหวใจร้าย - ผกาวดี
42.เชียงเหมี้ยง - คำหมาน คนไค
43.นกกางเขน - หลวงกีรติวิทย์โอฬาร และอร่าม สิทธิสารีบุตร
44.นิทานคติธรรม - แปลก สนธิรักษ์
45.นิทานชาดก ระดับประถม ฉบับกรมวิชาการ
46.นิทานไทย-พระยาอุปกิตศิลปสาร และหลวงศรีอมรญาณ
47.นิทานพื้นบ้าน - เต็มสิริ บุญยสิงห์
48.นิทานร้อยบรรทัด-กรมวิชาการ
49.นิทานสุภาษิต - สามัคยาจารย์สมาคม
50.นิทานอีสป - พระยาเมธาบดี
51.นิยายดาว - สิงโต ปุกหุต
52.พระพุทธเจ้าของฉัน - สันติสุข โสภณศิริ
53.พ่อแม่รังแกฉัน - พระยาอุปกิตศิลปสาร
54.เรื่องของม่าเหมี่ยว - สุมาลี
55.ลูกสัตว์ต่าง ๆ - ขุนสรรคเวทย์, นายกี่ กิรติวิทโยสาร ขุนศึกษากิจพิสัณห์
56.โลกของหนูแหวน - ศราวก
57.หนังสือชุดนิทาน - ส.พลายน้อย
58.หนังสือผจญภัยชุดค้นพบตนเอง (6 เล่ม) - นิคม รายยวา
59.หนังสือชุด เล่าเรื่องวรรณคดีไทย - กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
60.อาณาจักรปลาทอง - ถนัดกิจ ปิณินทรีย์
61.อุดมเด็กดี - กีฬา พรรธนะแพทย์

3.) กลุ่มเด็กและเยาวชนวัย 13-18 ปี (แบ่งตามประเภทเป็น กวีนิพนธ์, เรื่องสั้น, นวนิยาย)

3.1) กวีนิพนธ์

62.ก็พอใจอยากจะรักให้นักหนา - ศักดิ์สิริ มีสมสืบ
63.คำหยาด - เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
64.นักฝันข้างถนน - วารี วายุ
65.ใบไม้ที่หายไป - จิระนันท์ พิตรปรีชา
66.ม้าก้านกล้วย - ไพวรินทร์ ขาวงาม
67.มีรังไว้รักอุ่น - ศุ บุญเลี้ยง

3.2) เรื่องสั้น

68.100 ปี เรื่องสั้นไทย - สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
69.คือหญิงอย่างยิ่งนี้ รวมเรื่องสั้นบทกวีเกี่ยวกับผู้หญิง - สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
70.ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว - ท. เลียงพิบูลย์
71.รวมเรื่องสั้น - ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
72.เรื่องสั้นคัดสรร - เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
73.สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน - วินทร์ เลียววาริณ
74.เสาหินแห่งกาลเวลา รวมเรื่องสั้นศิลปินแห่งชาติ - สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

3.3) นวนิยาย

75.ข้าวนอกนา - สีฟ้า
76.เขี้ยวเสือไฟ - มาลา คำจันทร์
77.คนข้ามฝัน - ประชาคม ลุนาชัย
78.คือรักและหวัง - วัฒน์ วรรลยางกูร
79.คุณชาย - ว. วินิจฉัยกุล
80.คำอ้าย - ยงค์ ยโสธร
81.เจ้าพ่อ-เจ้าเมือง - อาจินต์ ปัญจพรรค์
82.ชีวิตของฉันลูกกระทิง - บุญส่ง เลขะกุล
83.เชิงผาหิมพานต์ - สุชีพ ปุญญานุภาพ
84.ดอกไม้บนภูเขา - สองขา
85.เด็กชายจากดาวอื่น - วาวแพร
86.เด็กชายชาวเล - พนม นันทพฤกษ์
87.บึงหญ้าป่าใหญ่ - เทพศิริ สุขโสภา
88.บูโนคนกลิ่นหญ้า - ภาคภูมิ ศิริอาชาวัฒนา
89.ปูนปิดทอง - กฤษณา อโศกสิน
90.ผีเสื้อและดอกไม้ - นิพพาน
91.พระจันทร์สีน้ำเงิน - สุวรรณี สุคนธา
92.มหกรรมในท้องทุ่ง - อัศศิริ ธรรมโชติ
93.เมืองนิมิต - เรียมเอง
94.ไม้ดัด - โบตั๋น
95.เรือกับรั้ว - เทพศิริ สุขโสภา
96.เรื่องเล่าจากดาวดวงหนึ่ง - พิษณุ ศุภ
97.ลำเนาป่า - ศิเรมอร อุณหธูป
98.เวลาในขวดแก้ว - ประภัสสร เสวิกุล
99.องคุลิมาล - สมัคร บุราวาศ
100.อมตะ - วิมล ไทรนิ่มนวล

ข้อมูล : วิทยากร เชียงกูล และคณะ, สารานุกรมแนะนำหนังสือดี 100 ชื่อเรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน. -- กรุงเทพฯ : สายธาร, 2544. 360 หน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น